คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1

Qอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลและโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1
แตกต่างกันอย่างไร
Aมีความแตกต่างสองประการใหญ่ระหว่างสองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ในที่นี้ คือ การเกิดภาวะกัมมันตภาพรังสี
ในชั้นบรรยากาศจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า และไม่ปรากฎ
ว่าการสัมผัสจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด

โดยอ้างอิงมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (International Nuclear and Radiological Event Scale หรือ INES) ดัชนีสากลว่าด้วย
ความสำคัญด้านความปลอดภัยของนิวเคลียร์และเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ ได้มีการจัดอุบัติเหตุที่เกิดที่เชอร์โนบิลและโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1
ไว้อยู่ในอันดับที่ 7 อย่างไรก็ตาม ความเสียหายและผลที่ตามมาต่างๆ นั้นมีส่วนที่แตกต่างกันออกไป

ความแตกต่างประการแรกเป็นเรื่องของสถานการณ์ที่เกิด สำหรับอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลนั้น เป็นกรณีที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิดและแกรไฟต์ในแกนปฏิกรณ์เกิดการลุกไหม้ ขยายวงกว้างออกไป เป็นเหตุให้สารกัมมันตรังสีในปริมาณมหาศาลแพร่กระจายไปเป็นระยะเวลานาน ในขณะที่อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ของ TEPCO ระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ไม่ทำงาน เป็นเหตุให้แกนปฏิกรณ์หลอมละลาย นำไปสู่การระเบิดของไฮดรอเจน แรงระเบิดดังกล่าว
ได้ทำลายหลังคาอาคารเตาปฏิกรณ์และสารกัมมันตภาพรังสีได้รั่วไหลสู่ชั้นบรรยากาศในรูปของแก๊ซ ส่วนเชื้อเพลิงนั้นยังคงหลงเหลืออยู่ภายในอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์ดังกล่าว

ลักษณะการแพร่กระจายของภาวะกัมมันตภาพรังสีในชั้นบรรยากาศถือเป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตที่สั้น แต่หากพิจารณาในแง่ของสุขภาพ เช่น สารซีเซียม และไอโอดีน ปริมาณที่แพร่กระจายออกมาที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 นั้นอยู่ที่ราวร้อยละ 10 ถึง
40 ของที่เชอร์โนบิลเท่านั้น ส่วนนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตที่ยาวอย่างพลูโทเนียมจะมีขนาดการแพร่กระจายเพียงราวร้อยละ 0.02 ถึง 0.1

ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการเชิงปกป้อง พร้อมอพยพประชาชน และหยุดการจัดส่ง
อาหารออกจากพื้นที่ดังกล่าวอย่างรวดเร็ว การดำเนินการเหล่านี้ได้ช่วยจำกัดการแพร่กระจาย การสัมผัส ส่งผลให้ไม่ปรากฎผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้คน
นี่คือ อีกหนึ่งข้อแตกต่างสำคัญที่พิสูจน์แล้วจากสองอุบัติเหตุที่ยกมาข้างต้น

กรุณาดูคำถามที่พบบ่อยดังต่อไปนี้ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลที่ตามมาทางด้านสุขภาพ: มีผู้พักอาศัยคนใดในจังหวัดฟุกุชิมะที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ
จากการนี้หรือไม่
อุบัติเหตุนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นเหตุให้จำนวนการอุบัติของมะเร็งในจังหวัดฟุกุชิมะเพิ่มขึ้นหรือไม่