คำถามที่พบบ่อย

ความปลอดภัยและสถานการณ์ในฟุกุชิมะ

Qส่วนใดในจังหวัดฟุกุชิมะที่ปลอดภัยและส่วนใดที่ยังเป็นอันตราย
Aประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ตามปกติในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดฟุกุชิมะ ส่วนโซนที่ยากต่อการหวนกลับ
ซึ่งเป็นเขตที่มีการจำกัดการเข้าไปนั้น คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.4 ของพื้นที่ทั้งหมดในจังหวัด

ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดฟุกุชิมะ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าไป (โซนที่ยาก
ต่อการหวนกลับ) คิดเป็นประมาณร้อยละ 2.4 (ประมาณ 337 ตารางกิโลเมตร) ของพื้นที่ทั้งหมดในจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงแรกหลังเกิดอุบัติเหตุแล้ว
คำสั่งอพยพครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดเป็นบริเวณที่แคบลงเรื่อยๆ อีกทั้ง ระดับปริมาณรังสียังลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันด้วย

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 มีการยืนยันว่า เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าประสบความสำเร็จในการปิดเครื่องแบบเย็นแล้ว ส่งผลให้ต่อมามีการทบทวน
คำสั่งอพยพและพื้นที่ภายใต้คำสั่งดังกล่าว ตลอดจน มีการนำค่าเป้าหมายดังต่อไปนี้มาใช้ด้วย:

  •  โซนที่ยากต่อการหวนกลับ: พื้นที่ที่มีปริมาณรังสีเกินกว่า 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี
  •  เขตที่อยู่อาศัยที่ถูกจำกัดไว้: พื้นที่ที่มีปริมาณรังสีอยู่ระหว่าง 20 ถึง 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี
  • พื้นที่เตรียมพร้อมสำหรับการยกเลิกคำสั่งอพยพ: พื้นที่ที่มีปริมาณรังสีเท่ากับหรือต่ำกว่า 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี

มีการยกเลิกคำสั่งอพยพอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. 2557 จน ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 คำสั่งนี้ยังคงมีอยู่เฉพาะโซนที่ยากต่อการหวนกลับเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม คำสั่งอพยพจะถูกยกเลิกในบางบริเวณภายในโซนดังกล่าว (เช่น รอบสถานีรถไฟ) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณรังสีต่ำกว่า 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี

ความปลอดภัยและสถานการณ์ในฟุกุชิมะ