คำถามที่พบบ่อย
ความปลอดภัยและสถานการณ์ในฟุกุชิมะ
เป็นที่ทราบกันดีว่า ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับสารในช่วงสั้นๆ ในระดับที่เกินกว่า 100 ถึง 200 มิลลิซีเวิร์ต
หลังเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้า ได้มีการดำเนินการสำรวจ โดยกำหนดเป้าหมายไปยังประชาชน 2.06 ล้านคนในจังหวัดฟุกุชิมะ การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินปริมาณภายนอกในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ผลการสำรวจประเมินปริมาณรังสีของผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 93.8 (466,000 คน ไม่รวมเจ้าหน้าที่รังสี)
จากจำนวนทั้งหมด พบว่าอยู่ในระดับที่น้อยกว่า 2 มิลลิซีเวิร์ต
ในรายงานที่รวบรวมโดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติว่าด้วยผลกระทบจากรังสีปรมาณู (UNSCEAR) คณะกรรมการสรุปว่าจะไม่มี
การเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งเต้านมที่เกิดจากรังสี (มะเร็งสองประเภทที่เกิดจากการรับรังสีมากที่สุด) หรือในมะเร็งชนิดอื่นๆ
ที่มีก้อน (ยกเว้น มะเร็งต่อมไทรอยด์) ในส่วนของมะเร็งต่อมไทรอยด์นี้ คณะกรรมการสรุปไว้ว่า “ไม่นับว่าพบการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่เป็นผลจากการรับรังสี
จำนวนมาก หลังการเกิดอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล เนื่องจากปริมาณรังสีที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาก”
จึงถือได้ว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะเพิ่มจำนวนรายที่เกิดมะเร็งจากการรับรังสี
อ้างอิง กระทรวงสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐของประเทศญี่ปุ่น: จุลสารที่ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการแผ่รังสี (ภาษาอังกฤษ) หน่วยงานภาคเอกชนในฟุกุชิมะและมหาวิทยาลัยนางาซากิ: ถามตอบเรื่องรังสี (ภาษาอังกฤษ) UNSCEAR: เอกสารข้อมูลฟุกุชิมะ ฉบับ พ.ศ. 2560 (ภาษาอังกฤษ) ศูนย์ฟื้นฟูฟุกุชิมะ จังหวัดฟุกุชิมะ “สุขภาพของผู้พักอาศัยในจังหวัด“ (ภาษาอังกฤษ)