คำถามที่พบบ่อย
ความปลอดภัยและสถานการณ์ในฟุกุชิมะ
จากระดับการสัมผัสรังสีภายหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น
จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบว่าการได้รับรังสีจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด
หลังเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้า ได้มีการดำเนินการสำรวจ โดยกำหนดเป้าหมายไปยังประชาชน 2.06 ล้านคนในจังหวัดฟุกุชิมะ การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินปริมาณภายนอกในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ผลการสำรวจประเมินปริมาณรังสีของผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 93.8 (466,000 คน ไม่รวมเจ้าหน้าที่รังสี)
จากจำนวนทั้งหมด พบว่าอยู่ในระดับที่น้อยกว่า 2 มิลลิซีเวิร์ต
คณะกรรมการจังหวัดได้ทบทวนข้อเท็จจริงเหล่านี้ โดยพิจารณาร่วมกันกับการศึกษาทางระบาดวิทยาในอดีตซึ่งไม่สามารถชี้ชัดถึงผลกระทบต่อสุขภาพ
อย่างมีนัยสำคัญ ที่ปริมาณ ≤100 มิลลิซีเวิร์ตได้ คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าต่างๆ เป็นค่าที่ประมาณในช่วงระยะเวลา 4 เดือนนั้น
สรุปได้ว่า ระดับรังสีนั้นไม่น่าจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภายนอกที่เป็นบุคคลที่สามมาร่วมทำการประเมินในแบบของหน่วยงานนั้นด้วยเช่นกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อสรุปไว้ว่า
ไม่มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น และคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติว่าด้วยผลกระทบจากรังสีปรมาณู (UNSCEAR)
รายงานว่า ไม่พบความเป็นไปได้ที่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจนหมู่ประชากร
ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากคำถามที่พบบ่อยดังต่อไปนี้: ความปลอดภัยของฟุกุชิมะได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกหรือไม่
อ้างอิง
กระทรวงสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐของประเทศญี่ปุ่น: จุลสารที่ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการแผ่รังสี (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงานภาคเอกชนในฟุกุชิมะและมหาวิทยาลัยนางาซากิ: ถามตอบเรื่องรังสี (ภาษาอังกฤษ)
UNSCEAR: เอกสารข้อมูลฟุกุชิมะ ฉบับ พ.ศ. 2560 (ภาษาอังกฤษ)
ศูนย์ฟื้นฟูฟุกุชิมะ จังหวัดฟุกุชิมะ “สุขภาพของผู้พักอาศัยในจังหวัด“ (ภาษาอังกฤษ)