คำถามที่พบบ่อย
ความปลอดภัยและสถานการณ์ในฟุกุชิมะ
การหวนกลับ
แม้อุบัติเหตุครั้งนั้นจะทำให้สารกัมมันตรังสีถูกปล่อยจากโรงไฟฟ้าก็ตาม แต่มาตรการต่าง ๆ รวมถึงการขจัดการปนเปื้อนได้ช่วยลดระดับรังสีลงมาอย่างมี
นัยยะสำคัญ ส่วนในโซนที่ยากต่อการหวนกลับ ยังดำเนินการขจัดการปนเปื้อนต่อเนื่องไป
จากการสำรวจอัตราปริมาณรังสีแวดล้อมในรัศมี 80 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิของ TEPCO พบว่าปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ความสูง
1 เมตรจากพื้นดินได้ลดระดับลงประมาณ 78% ทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ
ยิ่งไปกว่านั้น ระดับรังสีจะยังคงลดลงตามธรรมชาติเมื่อวัสดุกัมมันตรังสีคงตัว กระบวนการนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โดยวัสดุจะปล่อยรังสีในปริมาณที่น้อยลง
เมื่อมีความเสถียรมากขึ้น
ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 งานขจัดสิ่งปนเปื้อนในวงกว้างอย่างทั่วถึงได้เสร็จสิ้นลงแล้วในเขตเทศบาล 100 แห่งทั่ว 8 จังหวัด (ไม่รวมโซนที่ยากต่อการหวนกลับ) งานดังกล่าวได้ดำเนินไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยมาตรการพิเศษเกี่ยวกับการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากวัสดุกัมมันตรังสี โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 และยังคงดำเนินต่อเนื่องไปทั้งในระดับท้องถิ่นและส่วนรัฐบาลกลาง