คำถามที่พบบ่อย
ความปลอดภัยและสถานการณ์ในฟุกุชิมะ
ว่าด้วยผลกระทบจากรังสีปรมาณู (UN Scientific Committee on the Effects of Atomic Radiation หรือ
เรียกย่อว่า UNSCEAR) ยังได้ดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับผลกระทบจากอุบัติเหตุดังกล่าว และให้ข้อสรุปว่า
ไม่น่าปรากฎผลเสียต่อสุขภาพจากรังสีนั้น
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้พิจารณาทบทวนถึง 4 ครั้ง ในเรื่องแผนและกิจกรรมการรื้อถอนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ และ
ได้รวบรวมประเด็นที่ตรวจพบในรายงานขั้นสุดท้ายไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยทาง IAEA ได้สรุปไว้ในรายงานดังกล่าวว่า “ทีมทบทวนของ
IAEA พิจารณาแล้วเห็นว่า ได้บรรลุผลสำเร็จในขั้นตอนสำคัญว่าด้วยการพาฟุกุชิมะไดอิจิออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินก้าวสู่สถานการณ์ที่สงบลงแล้ว“
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังได้ทำการตรวจประเมินเช่นกัน และผลการพิจารณาขององค์การฯ ชี้ให้เห็นว่า รังสีจากอุบัติเหตุครั้งนั้นไม่น่า
ยังผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในอนาคต
ในรายงานที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติว่าด้วยผลกระทบจากรังสีปรมาณู (UNSCEAR) คณะกรรมการฯ ยังสรุปไว้ด้วยว่า ความเสี่ยงตลอดชั่วอายุขัยของชาวญี่ปุ่นนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนมองไม่เห็นการเพิ่มขึ้นของผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตเนื่องจากการได้รับรังสีในหมู่ประชาชน
อ้างอิง
IAEA: รายงานสรุปเบื้องต้น พันธกิจทบทวนโดยเจ้าหน้าที่สากลจาก IAEA ในเรื่องแผนกลยุทธ์ระยะกลางและระยะยาว ต่อการรื้อถอนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
ฟุกุชิมะไดอิจิของ TEPCO ยูนิตที่ 1 ถึง 4 (ภาษาญี่ปุ่น)
WHO: การคาดคะเนปริมาณขั้นต้นจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ หลังเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น พ.ศ. 2554 (พ.ศ. 2555)(ภาษาอังกฤษ)
UNSCEAR: รายงานฉบับ พ.ศ. 2556(ภาษาอังกฤษ)
กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น: จุลสารที่ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการแผ่รังสี รายงาน WHO และรายงาน UNSCEAR
ฉบับ พ.ศ. 2556(ภาษาอังกฤษ)
การตีพิมพ์เผยแพร่รายงาน UNSCEAR ฉบับ พ.ศ. 2563 ภาคผนวก B (ฉบับล่วงหน้า)(ภาษาอังกฤษ)