คำถามที่พบบ่อย
น้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS / สารทริเทียม / การเฝ้าระวัง
มีการกำจัดสารทริเทียมในโรงงานนิวเคลียร์ทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศโดยปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุม และไม่มีการตรวจพบผลกระทบที่มีสาเหตุมาจากสารทริเทียมในพื้นที่โดยรอบเลย ส่วนน้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS ซึ่งกักเก็บไว้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ในการตรวจประเมินที่เผยแพร่โดย IAEA (ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ) ในเดือนเมษายน 2020 ก็มีการประเมินเรื่องการปล่อยลงสู่มหาสมุทรไว้ว่า “ในทางเทคนิคสามารถทำได้ และเป็นไปตามข้อกำหนดในเรื่องเวลาด้วย” แต่เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบจากกระแสข่าวลือ และผลกระทบอื่น ๆ ในทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการกำจัดแล้ว จึงได้เลือกที่จะกักเก็บไว้ในพื้นที่ไปก่อนสักระยะหนึ่ง หลังจากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญมาอย่างยาวนานกว่า 6 ปี และการพิจารณาความคิดเห็นที่เป็นลายลักษณ์อักษรมากกว่า 4,000 รายการ เราจึงตัดสินใจเลือกแนวทางที่จะปล่อยลงสู่มหาสมุทร
น้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS / สารทริเทียม / การเฝ้าระวัง
- Q น้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS คืออะไร มีความแตกต่างจากน้ำที่ปนเปื้อนอย่างไรบ้าง
- Q ทำไมจึงต้องปล่อยน้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS ออกมา ควรจะกักเก็บเอาไว้ใช่หรือไม่
- Q ถ้าน้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS ปลอดภัยจริง ก็ไม่จำเป็นต้องกักเก็บเอาไว้ใช่หรือไม่ สาเหตุที่กักเก็บเอาไว้ก็เพราะไม่ปลอดภัยใช่หรือไม่
- Q มีสารกัมมันตรังสีอื่นที่นอกเหนือไปจากสารทริเทียมปนอยู่ในน้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS ใช่หรือไม่
- Q สารทริเทียมคืออะไร
- Q สารทริเทียมเป็นสารกัมมันตรังสี แล้วจะไม่เป็นอันตรายใช่ไหม
- Q หากสารทริเทียมสะสมเข้มข้นอยู่ในตัวปลา เมื่อรับประทานปลานั้นเข้าไป จะเป็นอันตรายหรือไม่
- Q มีการเฝ้าระวังอย่างไรในการปล่อยน้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS ลงสู่มหาสมุทร
- Q จะทำอย่างไรหากปล่อยน้ำที่บำบัดด้วยระบบ ALPS ลงสู่มหาสมุทร และเฝ้าระวังพื้นที่ทางทะเลโดยรอบแล้วตรวจสอบพบว่าน้ำที่ปล่อยออกมาไม่ได้กระจายตัวออกไปมากเท่าที่ควร ฯลฯ